หลักการแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับนวัฒกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ
- ความหมายของ
หลักการแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับนวัฒกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ
ความหมายของนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา
“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ
หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว
ให้ทันสมัย และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
“นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง
นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา
และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมาย ถึง
ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุม
องค์ประกอบ3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan
edt01.htm)
แนวคิดรวบยอดของเทคโนโลยีทางการศึกษา
ซึ่งอาจจะพิจารณาเป็น 2 ด้าน
คือ 1.ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ
ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ
ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้
มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้
โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา
กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก
การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน
เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้
เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ
หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว (boonpan edt01.htm)
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา สรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) แผนการศึกษาของชาติ
ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
-
มหาวิทยาลัยเปิด
-
การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
-
การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
-
ชุดการเรียน
หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.หลักการและทฤษฎี
ทางจิตวิทยาการศึกษา
ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้
เช่น chafe Watson Pavlov,
Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี
เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
(Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response
Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ
พอฟลอบ (Pavlov) กล่าว ไว้ว่า
ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่าง
ใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้
คือ ธอร์นไดค์ (Thorndike) ซึ่ง กล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ
ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด
เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
1. กฎแห่งการผล
(Law of Effect)
2. กฎแห่งการฝึกหัด
(Law of Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม
(Law of Readiness)
แนวคิดของธอร์นไดค์ นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมัน
ผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ และเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้
5 ประการ
ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการคือ
1. ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง ๆ ที่ควรจะไปด้วยกัน
ให้ได้ดำเนินไปด้วยกัน
2. ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสม
และไม่ควรให้ความสะดวกใด ๆ ถ้าไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมขึ้นมาได้
หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนของเขา
ไว้ 5 ประการคือ
1. การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง (Self
– Activity)
2. การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ (Interest
Motivation)
3. การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ (Preparation
and Mentalset)
4. คำนึงถึงเรื่องเอกัตบุคคล (Individualization)
5. คำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางสังคม (Socialization)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง (S-R Theory หรือ Operant Conditioning)เจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์ (Skinner) กล่าว ว่า
ปฏิกิริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ
ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้ ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง
แนวคิดของสกินเนอร์
นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม (Program Inattention) สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก
การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้จะ
ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step
by Step)
2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
(Interaction)
3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback)
4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)
2.หลักการและทฤษฎี
เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้
คาร์เพนเตอร์ และเดล(C.R. Carpenter and
Edgar Dale) ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ
1.หลักการจูงใจ
สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการสอน
เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดันจูงใจ มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ ความต้องการ
ของผู้เรียน
2.การพัฒนามโนทัศน์ (Concept) ส่วนบุคคล ช่วยส่งเสริมความ คิด
ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน
การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน
ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน ตลอดถึงจุดมุ่งหมายของการเรียน
3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี
ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน
4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ
เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ และมีความหมายตามความสามารถของเขา
5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม
และการปฏิบัติด้วยตนเองมากที่ สุด
6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ สื่อที่สามารถส่งเสริมการฝึกซ้ำและมีการ
เปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอ
จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ เพิ่มความคงทนในการจำ
7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน
อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อความรู้ต่างๆ จะ ต้องมีความสอดคล้องกับ
ความสามารถอัตราการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
8.ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล
สื่อที่มีลักษณะชัดเจน สอดคล้องกับ
ความต้องการ
ที่สัมพันธ์กับผลที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
9.การถ่ายโยงที่ดี
โดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่าง
อัตโนมัติ
จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยงเพราะผู้เรียนต้องการแนะนำในการปฏิบัติ เพื่อประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
10.การให้รู้ผลการเรียนรู้จะดีขึ้น ถ้าหากสื่อเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำทันที หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้ว
แนวคิดของบูเกสสกี (Bugelski) ได้ สนับสนุนว่า
การเรียนรู้จะเป็นผลจากการกระทำของผู้เรียน ไม่ใช้กระบวนการถ่ายทอดของผู้สอน
หากแต่ผู้สอนเป็นเพียงผู้เตรียมสถานการณ์และจัดระเบียบประสบการณ์ที่ทันสมัย
ไว้ให้
เพื่อผู้เรียนจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่ได้สะดวก ซึ่งหมายถึงว่า
เทคโนโลยีทางการศึกษาจะเป็นตัวการประสานความรู้โดยตรงแก่ผู้เรียน
3.ทฤษฎีการรับรู้
เมื่อมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องมีการรับรู้เกิดขึ้น
ก่อน เพราะการรับรู้เป็นหนทางที่นำไปสู่การแปลความหมายที่เข้าใจกันได้
ซึ่งหมายถึงการรับรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้น
การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้
การรับรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดรวบยอด
ทัศนคติของมนุษย์อันเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนและการใช้สื่อ
การสอนจึงจำเป็นจะต้องให้เกิดการรับรู้ที่ถูกต้องมากที่สุด
แนวคิดของรศ.ดร.สาโรช โศภี
ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการรับรู้ว่าการรับรู้เป็นผลเนื่องมาจากการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส
(Sensory motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory)
ทั้ง 5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น
และผิวหนัง
การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล
หรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้ ลักษณะของสิ่งเร้า
แนวคิดของ ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์ และ วไลพร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม กล่าวว่า การที่จะเกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องอาศัยการรับรู้ที่เกิดจากการเปลี่ยน
แปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์
การรับรู้มีขบวนการที่ทำให้เกิดการรับรู้
โดยการนำความรู้เข้าสู่สมองด้วยอวัยวะสัมผัส
และเก็บรวบรวมจดจำไว้สำหรับเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดมโนภาพและ ทัศนคติ
ดังนั้นการมีสิ่งเร้าที่ดีและมีองค์ประกอบของการรับรู้ที่สมบูรณ์ถูกต้อง
ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีด้วยซึ่งการรับรู้เป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการรับรู้
แนวคิดของ Fleming ให้ข้อเสนอแนะว่ากระบวนการรับรู้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนด้วย
มีเหตุผลหลายประการที่นักออกแบบเพื่อการเรียนการสอนจำต้อง
รู้และนำหลักการของการรับรู้ไปประยุกต์ใช้กล่าวคือ
1.โดย ทั่วไปแล้วสิ่งต่าง ๆ เช่น วัตถุ บุคคล
เหตุการณ์ หรือสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน ถูกรับรู้ดีกว่า
มันก็ย่อมถูกจดจำได้ดีกว่าเช่นกัน
2ใใน
การเรียนการสอนจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับรู้ที่ผิดพลาด
เพราะถ้าผู้เรียนรู้ข้อความหรือเนื้อหาผิดพลาด
เขาก็จะเข้าใจผิดหรืออาจเรียนรู้บางสิ่งที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความเป็น จริง
3.เมื่อ
มีความต้องการสื่อในการเรียนการสอนเพื่อใช้แทนความเป็นจริงเป็นเรื่องสำคัญ
ที่จะต้องรู้ว่าทำอย่างไร
จึงจะนำเสนอความเป็นจริงนั้นได้อย่างเพียงพอที่จะให้เกิดการรับรู้ตามความ มุ่งหมาย
- ความสำคัญของ
หลักการแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับนวัฒกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ
หลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
10 ประการ คือ
1.หลักการจูงใจ
สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการ สอน
เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดัน ส่งเสริมและเพิ่มพูนกระบวนการจูงใจ ที่มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ
ความต้องการ ความปรารถนา และความคาดหวังของผู้เรียนที่จะศึกษา
2.การพัฒนามโนทัศน์ (Concept) ส่วนบุคคล
วัสดุการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมความ คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน
ดังนั้นการเลือก การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน
ตลอดถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่กำหนด
3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติเกี่ยว
กับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน ดังนั้นการเลือก การใช้การตอบสนอง
และผลิตผลจึงจะต้องพิจารณาเป็นแผนรวมเพื่อสนองความต้องการและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนอย่างสอดคล้องกัน
4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ
เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ และมีความหมายตามความสามารถของเขา
5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม และการปฏิบัติด้วยตนเองมากที่สุด จากกิจกรรมการเรียนการสอน
เพราะเป็นหนทางที่จะทำให้สามารถพัฒนาการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
ดังนั้นการจัดสื่อเทคโนโลยีควรคำนึงถึงหลักการเหล้านี้
6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ สื่อที่สามรารถส่งเสริมการฝึกซ้ำและมีการ
เปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอ
จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ
เพิ่มความคงทนในการจำยั่วยุความสนใจและทำให้เกิดรูปแบบการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวาง
7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อความรู้ต่างๆ จะ ต้องมีความสอดคล้องกับ
ความสามารถอัตราการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
8.ความชัดเจน ความสอดคล้อง
และความเป็นผล สื่อที่มีลักษณะชัดเจน สอดคล้องกับ ความต้องการ
และสัมพันธ์กับผลที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
9.การถ่ายโยงที่ดี โดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่าง
อัตโนมัติ
จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยงเพราะผู้เรียนต้องการแนะนำในการปฏิบัติ เพ่อประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ซึ่งผู้สอนจะต้องวางแผนจัดประสบการณ์ที่จะส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ใหม่
และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้นั้นที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในสถานการณ์จริง
10.การให้รู้ผล การเรียนรู้จะดีขึ้น
ถ้าหากสื่อเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำทันที หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้ว
ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ
1
ความต้องการของผู้เรียน (Want)
2
สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus)
3 การตอบสนอง (Response)
4
การได้รับรางวัล (Reward)
ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น
มีลำดับขั้นของการเรียนรู้
ซึ่งประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอน
1 ประสบการณ์ (experiences) ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง
ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง
ๆ
2 ความเข้าใจ (understanding) การตีความหมายหรือสร้างมโนมติ (concept) ในประสบการณ์นั้นๆ
3 ความนึกคิด (thinking) ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้
- ขันตอนการกเกิดหรือการกำเนิดหลักการแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับนวัฒกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ
หากจะกล่าวถึงจุดกำเนิดของเทคโนโลยีกันแล้ว
ในทางทฤษฎีของกระบวนการหรือวิธีการนั้น ก็คงเป็นเรื่องที่ยาก ต่อการอธิบาย
แต่หากเรามามองถึงปัจจัยทางโครงสร้างนั้นจะพบว่าเป็นการหลอมรวมกันระหว่าง
เทคโนโลยี กับ สารสนเทศ ที่เป็นระบบของข้อมูลของแต่ละแขนงเข้าด้วยกัน ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดจากการรวมตัวของ (1)
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์และ (2) เทคโนโลยีโทรคมนาคม เข้าด้วยกัน ได้แก่
(1) เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
ในด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์
เป็นเทคโนโลยีที่มีความต่อเนื่องเกี่ยวพันกัน กล่าวคือ
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ถือเป็นวิวัฒนาการส่วนขยาย ที่แตกแขนงออกมา
และกลายเป็นเส้นทางที่ยิ่งใหญ่ แผ่กระจายออกไปในหลายมิติ
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
โดยเฉพาะเทคโนโลยีในระบบดิจิตอลซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีพัฒนาการเริ่มต้นมาจากทรานซิสเตอร์
(Transistor) สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor)
จนถึงวงจรรวมสารกึ่งตัวนำขนาดใหญ่มาก (Very large scale
integration (VLSI) semiconductors) พัฒนาการนั้นส่งผลให้มีการเพิ่มอัตราส่วนของราคา
และคุณภาพรวมทั้งขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เล็กลงแต่มีความสามารถเพิ่มมากขึ้น
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ
และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งได้
คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า
ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4)
ปัจจุบันสถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Architecture) ไม่ได้ยึดติดที่รูปแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่พบเห็นในปัจจุบัน แต่คอมพิวเตอร์ได้พัฒนาจากอุปกรณ์ขนาดใหญ่(ที่ตั้งกับที่)
ไปสู่รูปลักษณะที่สามารถนำพาไปในที่ต่างๆได้ (เช่น notebook และ
netbook) บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รวมถึงผู้พัฒนาองค์ประกอบต่างๆหลายแห่ง
ได้ให้ความสำคัญของการพัฒนาอุปกรณ์ทีทำงานในบางหน้าที่เช่นเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อสะดวกในการใช้งานเฉพาะอย่างที่สำคัญมีขนาดบางหรือเล็ก สามารถพกพาไปได้ (อาทิ Tablet
หรือ Ultrabook)
(2) เทคโนโลยีโทรคมนาคม
ในส่วนของเทคโนโลยีโทรคมนาคม
มีปัจจัยหรือองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 3 ส่วนคือ
เทคโนโลยีเครือข่าย เทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูล
และเทคโนโลยีการสื่อสาร
เทคโนโลยีเครือข่าย
โดยเฉพาะเครือข่าย Integrated services digital network : ISDN ที่วางมาตรฐานสำหรับการรวมเครือข่ายโทรศัพท์และเครือข่ายข้อมูลที่เคยแยกกัน
บริการเสียงและข้อมูลจะถูกรวม (Integrated) บนเครือข่าย ISDN
เนื่องจากทั้งเสียงและข้อมูลจะได้รับการแปลงเป็นดิจิตอลบิต (Digital
Bit) เช่นเดียวกัน
ส่งผลให้ข้อจำกัดในการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายโทรศัพท์หมดไป
ผู้ใช้สามารถพูดคุยและส่งข้อมูลจำนวนมากบนสายเดียวกัน
ประกอบกับการที่เครือข่ายดังกล่าวใช้เทคนิคการส่งผ่านข้อมูลและการสลับสายที่ก้าวหน้าที่เรียกว่า
Asynchronous Transfer Mode : ATM จะส่งผลให้บริการสื่อมัลติมีเดียในระบบดิจิตอล
(Digitized multi-media) ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูล (Telecommunications Transmission Technology)เป็นเทคโนโลยีที่รองรับกระบวนการส่งผ่านข้อมูล
ด้วยปริมาณและความเร็ว อาทิเทคโนโลยีไมโครเวฟ เทคโนโลยีดาวเทียม
และเทคโนโลยีเคเบิลใยแก้ว ล้วนแต่ได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะเคเบิลใยแก้วนำแสงหนึ่งใยแก้ว สามารถนำสัญญานการพูดคุยโทรศัพท์ 30,000 สัญญาณได้พร้อมกันในเวลาเพียงแค่ 0.1 mm in diameter ซึ่งในสายเคเบิลเส้นหนึ่งประกอบไปด้วยเส้นใยแก้วมากมาย
เทคโนโลยีการสื่อสาร (Telecommunications Transmission Technology)เป็นเทคโนโลยีที่รองรับกระบวนการส่งผ่านข้อมูล
ด้วยปริมาณและความเร็ว อาทิเทคโนโลยีไมโครเวฟ เทคโนโลยีดาวเทียม และเทคโนโลยีเคเบิลใยแก้ว
ล้วนแต่ได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเคเบิลใยแก้วนำแสงหนึ่งใยแก้ว
สามารถนำสัญญานการพูดคุยโทรศัพท์ 30,000 สัญญาณได้พร้อมกันในเวลาเพียงแค่
0.1 mm in diameter ซึ่งในสายเคเบิลเส้นหนึ่งประกอบไปด้วยเส้นใยแก้วมากมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น